top of page

Exercise !

                                                      Listening through our ears and body..

1.

การรับรู้ผ่านการฟังในชีวิตประจำวัน

     

             ในกิจวัตรของเรา ในการสร้างเสียงของเรา

                   ผ่านร่างกาย ผ่านความคิดความรู้สึก เพื่อฝึกการรับรู้ในชีวิตประจำวัน 

ในการฝึกฟังผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์เสียง และการอิมโพรไวส์ พัฒนาการรับรู้

 

 

..เล่นเสียงยาว

ลองตั้งใจฟังเสียงที่เธอกำลังเล่น

รับรู้ถึงความสั่นสะเทือนจากเสียง

รู้สึกถึงพลังจากแรงสั่นสะเทือนเหล่านั้น

หายใจเข้า และหายใจออก..

เป็นแบบฝึกหัดที่ใช้กับการฝึกฟังและรับรู้ ร่างกายและจิตใจ ก่อนที่จะเริ่มฝึกซ้อมดนตรีเพลงอื่นๆ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเองด้วย แล้วก็ tune in ตัวเองกลับมากับการรับรู้ในปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใช้เวลาสักครู่เพื่อจินตนาการว่าคุณเป็นคนจากวัฒนธรรมหรือดาวเคราะห์ดวงอื่น ลืมไปชั่วขณะสิ่งที่คุณรู้เกี่ยวกับเครื่องมือของคุณ

 

ตอนนี้ดูที่มัน แล้วบอกกับมันว่า เธอช่างเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่น่าอัศจรรย์จริง ๆ !

เล่นกับเครื่องดนตรีของคุณและทุกส่วนของเครื่องดนตรีจากมุมมองนี้ เมื่อไหร่คุณพบเสียงที่คุณสนใจ สำรวจมัน

 

 

มีวิธีใดบ้างที่คุณสามารถรับเสียงจากสิ่งประดิษฐ์นี้?

 

 

คุณสามารถสร้างเสียงต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง พวกมันทำให้คุณนึกถึงอะไร? คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยินเสียงแบบนั้น?

IMG_2537_edited.png

เป็นการฝึกเพื่อพัฒนาเรื่องของ musical development ใน classical repertoire ที่เล่นอยู่ จากในคลิปคือส่วนนึงของ Bach Sonata และ พาร์ทจากเพลง Beethoven String quartet No.14

2.

3.

4.

5.

ในการฝึกการฟังและการเล่นดนตรีแบบกลุ่ม

พัฒนาเรื่องของ musical development ร่วมกันและพัฒนามุมมอง เปิดใจและรับฟังมากขึ้น

ให้เกิดความเข้าใจในตัวนักดนตรีกลุ่มนี้ร่วมกันผ่านกระบวนการฝึกนี้

IMG_2540.PNG

กิจกรรมนี้ต้องการที่จะพาให้เราลองออกจากความคิดเกี่ยวกับดนตรี และมารู้จักกันมากขึ้นผ่านการถ่ายทอด เล่าเรื่องของแต่ละคนผ่านการวาดภาพ โดยที่ภาพมาจากการสังเกตการและความชอบของแต่ละคนในการจะมาบอกเล่าผ่านภาพครั้งนี้ กิจกรรมนี้อยากจะนำมาช่วยให้กลุ่มเราได้เข้าใจกันถึงมุมมองของแต่ละคน และนำความเข้าใจนี้มาพัฒนาในกระบวนการซ้อมของเรา ในการพูด การอธิบาย เพื่อการทำงานร่วมกันและพัฒนาดนตรีของเราให้เป็นเสียงเดียวกัน

6.

การเรียนรู้ทำความรู้จักเพื่อนนักดนตรีในกลุ่ม ผ่านการใช้ศิลปะในการถ่ายทอดตัวตน รับฟังถึงมุมมองของเพื่อนนักดนตรีและสังเกตตัวเองขณะที่ฟังไปด้วยเช่นเดียวกัน จากนั้นชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด สิ่งที่เกิดขึ้นขณะที่ฟังเพื่อนๆ มีความรู้สึกหรือความคิดอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง?

IMG_1816.jpg
IMG_1817.jpg
IMG_1819.jpg
IMG_1820.jpg
Screen Shot 2021-05-10 at 8.25.15 PM.png

กิจกรรมที่เราได้ทดลองให้สมาชิกได้ลองเล่นเครื่องดนตรีอื่น ได้เริ่มต้นใหม่ มาอยู่จุดที่เรามาทำความรู้จักเครื่องดนตรี เสียงที่เราไม่คุ้นเคย การลองผิดลองถูกที่จะสร้างเสียงร่วมกันกับคนอื่น

7.

เรียนรู้การรับรู้และการฟังผ่านกิจกรรมสร้าง visual score

ทดลองเล่นดนตรีร่วมกัน สังเกตว่าภาพที่วาดจะพาดนตรีไปทิศทางใด จากการมองภาพเดียวกันในการอิมโพรไวส์ พยายามที่จะสร้างพื้นที่ในการสื่อสาร สนทนาร่วมกัน

8.

IMG_1821.jpg
IMG_0971.jpg

ใช้เรื่องของการดีไซน์แจกันดอกไม้ร่วมกันเพื่อเป็นการสร้างภาพที่อยากให้เกิดออกมาให้เห็นร่วมกันแล้วทดลองเล่นดนตรีออกมาจากสิ่งที่เห็นร่วมกันนี้ โดยที่เราได้เห็นความคิดของเพื่อนในกลุ่มของเรา ได้เป็นการเข้าใจเขาไปด้วยอีกทางหนึ่ง

9.

การอิมโพรไวส์ของดนตรี Baroque

ในการด้นสดของดนตรีบาโรกสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนการใช้โน้ตประดับ (ornament) เพื่อมาใช้พัฒนาต่อยอดต่อในการสร้างสรรค์เสียง และถ่ายทอดผ่านดนตรีของเราได้มากขึ้น โดยทดลองฝึกจาก ตัวอย่างต่อไปนี้

 

trill                                                                                                                                                                         mordent 

 

 

 

 

  

 

 

turn                                                                                                                                                                       grace note

 

 

 

 

 

   

 

 

 

 

passing note 

 

 

 

 

2. ทดลองเล่นโน้ตที่อยู่ในทางเดินของคอร์ดจากเพลงที่ตนเองกำลังฝึกอยู่ จากนั้นลองใส่โน้ตประดับที่ได้ลองฝึกเข้าไป

 

3. ทดลองเลือกประโยคหรือชุดโน้ตจากทำนองหลัก มาพัฒนาต่อยอดโดยการขยายจังหวะออก และใส่โน้ตประดับเข้าไป

 

 

 

 

ส่วนหนึ่งของการแสดงในช่วงการอิมโพรไวส์รูปแบบของบาโรก :

https://drive.google.com/file/d/1kSvOqRz280FVFzs_wGnyU1axVm441Yp1/view?usp=sharing

การเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบบาโรกทำให้ฉันได้กลับมามองถึงว่าในการสื่อสาร การใช้โน้ตประดับในแต่ละช่วง การเล่นในเรื่องของน้ำหนัก และเรื่องของจังหวะของบทเพลงที่เราเลือกใช้ มันมาจากการที่เราตีความสารเหล่านั้นผ่านมุมมองของเรา ในมุมที่เราอยากจะสื่อสารด้วยอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น

ช่วงเวลาที่ได้ใช้เวลาตรงนั้น มันผ่านการตัดสินใจในทิศทางการเล่น จากที่เราฟัง จากความรู้สึกในช่วงเวลานั้น ต่อเสียงที่ได้ยิน ความเป็นเรา ร่วมถึงความรู้สึกของพื้นที่ที่ตรงนั้น หลอมรวมออกมา

mordent.png
passing note.png
turn.png
grace note.png
trill.png
improv - baroque part.png

การด้นสดแบบดนตรี Thai 

 

 

1. การทดลองเลียนแบบสำเนียงของซอไทย ทำความเข้าใจในลักษณะของเสียงดนตรีในวัฒนธรรมไทย โดยการทดลองเล่นเลียนแบบสำเนียงจากบทเพลงลาวแพน 

 

คลิปตัวอย่าง : https://drive.google.com/file/d/13r9F3S5NVcoVsfW8SX5JxtFGGwC9Vmrs/view?usp=sharing

 

2. ฝึกฝนเทคนิกของซอไทยบนไวโอลิน ทั้งเทคนิกการพรมนิ้ว ทดลองทั้งพรมเปิด พรมปิด พรมจาก กับการป้าย

 

 

3. ทดลองเล่นทาง หรือบันไดเสียงแบบต่างๆ เช่น 

 

ทางนอก โน้ตคือ โด เร มี(เต็ม) ซอล ลา

ทางกลาง โน้ตคือ เร มี ฟา ลา ที

ทางใน โน้ตคือ ซอล ลา ที(ต่ำ) เร มี

 

4. ทดลองเอาโน้ตในทางต่างๆมาสร้างสรรค์และลองใส่เทคนิกลงไป

 

5. นำมาประยุกต์ใช้ในบทเพลงดนตรีคลาสสิค บาค

ส่วนหนึ่งของการแสดงในช่วงการด้นสดแบบดนตรีไทย :

https://drive.google.com/file/d/1psyqCY7gzJ6YGM5_Mjx8kVaZVpkuFNP0/view?usp=sharing

ได้รับรู้ถึงความไม่คุ้นชินของร่างกายที่ต้องถูกใช้สร้างเสียงด้วยวิธีการสร้างเสียงแบบอื่น การพยายามเล่นสำเนียงของดนตรีไทย เรียนรู้วิธีการเล่นและการได้เรียนรู้วิธีของคนซอไทยทำให้ฉันได้เข้าใจมากขึ้นถึงวิธีการสร้างสรรค์ และความคิดที่จะต้องไปตามพร้อมกับนักดนตรีคนอื่นขณะที่เล่น การตีความของดนตรีไทยมันอยู่ในทุกอย่างที่นักดนตรีหยิบยกมาใช้ ทั้งบันไดเสียง เทคนิกในการเล่น และจังหวะของเพลงในการมาบรรเลง

อิมโพรไวส์แบบดนตรี Jazz

ในการอิมโพรไวส์แบบเเจ๊สผู้วิจัยเริ่มจากการฝึกหัด ดังนี้

1. ลองเล่นกับสเกล และการเดินทางของฮาร์โมนี่บนไวโอลิน 

  • โดยทดลองเล่นแบบจังหวะสวิง (Swing) 

  • การเล่นแบบเป็นคอร์ดแยก (Arpeggio) 

 

คลิปตัวอย่าง : https://drive.google.com/file/d/1DCrhQXq_w72MDQdkCjw0eZHqSrR-A6Qm/view?usp=sharing

 

2. ฝึกเปลี่ยนคีย์ (transpose) ประโยคเพลง 1 ประโยค เพื่อที่จะฝึกหูให้ชินแก่การที่จะขยับเปลี่ยนช่วงเสียงไปมาได้เพิ่มขึ้น

 

 

3. ลองเล่นแบบนำทำนอง (melody) มาต่อยอด 

  • เล่นร่วมไปกับ backing track การพัฒนาต่อยอดทำนองสามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนจังหวะของทำนองหลัก

  • เปลี่ยนเสียงแต่ยังคงรูปแบบของจังหวะเดิมไว้ 

  • ลองใส่โน้ตลงไปแต่ให้ความสำคัญกับเสียงยาวหรือโน้ตตัวหยุด

 

4. ฝึกลองใช้ motif หนึ่งมาพัฒนาต่อ สามารถทำได้โดย

  • การใช้รูปแบบจังหวะเดิมเเต่เปลี่ยนโน้ต จะมองให้เป็นรูปร่างก็ได้ แล้วลองทดลองเล่นดู สามารถไปแบบจากเสียงสูงไปต่ำ จากต่ำไปสูง หรือจะลองไปแบบมุมไหนก็ได้โดยมองเป็นรูปร่างของเสียง

  • ทดลองเล่นโน้ตเดิมแต่เปลี่ยนจังหวะ

  • ลองเปลี่ยนโน้ตแรกที่เริ่ม หรือลองเปลี่ยนโน้ตตัวที่จบ

ฝึกฝนการอิมโพรไวส์ในรูปแบบเเจ๊สทำให้ฉันได้ฝึกที่จะกับ groove และการทำงานในการถ่ายทอดเสียงอย่างลื่นไหล การเคลื่อนไหวของร่างกายและ groove ที่ตั้งเอาไว้ต้องสัมพันธ์กันเป็นสิ่งสำคัญ ควรซ้อมให้เกิดความเคยชินจนสามารถที่จะไปต่อได้โดยไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องของ groove อีกต่อไป 

 

ในการต่อยอดการเล่น เพียงแค่เราปรับโน้ตหรือเปลี่ยนจังหวะ มันทำให้อารมณ์ความรู้สึกที่ถูกส่งออกมามันต่างไปและน่าสนใจทุกครั้ง หรือว่าเพียงแค่การที่เปลี่ยนโน้ตเริ่มต้นกับตอนจบ ปรับการเล่นในช่วงเริ่มต้นหรือตอนจบ ทำให้จุดที่เราลงจอดผ่านเสียงดนตรีแต่ละครั้งสามารถเปลี่ยนอารมณ์หรือลักษณะความเป็นไปบนพื้นที่ของเสียงนั้นๆได้ 

REVIEW FROM WORKSHOPS

ค้นหาและทำความเข้าใจกับสมดุลของตัวเอง และค้นหาวิธีการกลับมาเข้าใจตัวเองจากกระบวนการของศิลปะขนานอื่นๆ

Reflection

บันทึกกิจกรรม สะท้อน อารมณ์... ความคิด..

bottom of page