
Reflection
บันทึกกิจกรรม สะท้อน อารมณ์... ความคิด..
II-f : Ravel in the forest
เป็นตอนที่เราลองที่จะพัฒนาไอเดียในเพลงที่เราเล่นร่วมกัน แล้วก็เป็นครั้งแรกๆเลยที่ได้ลอง improvise ร่วมกัน เลยลองอัดเสียงกันอยู่หลายรอบ ด้วยความที่เราสองคนยังไม่ค่อยได้เล่นดนตรีด้วยกันมาเท่าไหร่ เลยยังไม่รู้เท่าไหร่ว่าจะไปทางไหนหรือต้องรับมือยังไงกัน แต่จากที่ได้คุยกัน โบอิ้งรู้สึกว่าตัวเองยังมีความกลัวในการ improviseอยู่ จะรู้สึกยากในการที่เสียงมันออกมาไม่เป็นตามที่คิด
เลยคิดว่าเราจะต้องหาทางลดกำแพงความกลัวที่จะไปต่อในเสียงที่เราไม่คาดคิดแบบนี้กันเพิ่มขึ้น
ครั้งแรกๆในการได้ลอง improvise บนmaterial ในเพลงที่เราเล่นด้วยกันอยู่ โดยที่ลองในการจะสร้าง dialogue บนmaterial ที่เรามีด้วยกัน โดยจากที่เล่นกันครั้งนี้เราค่อนข้างฟังกันได้ค่อนข้างโอเคเลยในการสื่อสารกันในดนตรี ในส่วนของตัวเองก็ยังมีบางทีที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ตัวเอง แล้วก็ความคิดในการอยากจะเล่นออกมา มากกว่าฟังพื้นที่นั้นๆร่วมกัน
ตัวอย่างถัดไปนี้เป็นการ improvise โดยมีโจทย์ในแต่ละรอบในการใช้ scaleที่แต่ละคนคุ้นชินกับมือตัวเอง นำพาเพื่อนๆในกลุ่มไป คนอื่นลองใช้เวลาไปกับการฟังเสียงที่คนนำคนนี้เล่นก่อน จากนั้นค่อยเข้ามาเล่นด้วยกัน แล้วไปด้วยกันไปเรื่อยๆ ผ่านการฟังของเรา ในคลิปเสียงนี้มีช่วงที่เราได้พูดคุยกันหลังซ้อมจบของวันนั้น เสียงที่เราตระหนักได้ถึงตัวเอง การเล่นที่เกิดขึ้น และสิ่งที่เราน่าจะพัฒนากันต่อในครั้งต่อๆไป เราได้ลอง improvise กันสองรอบ โดยมีผู้นำในการเล่นคนละคนกัน
ในรอบแรก ฉันเป็นผู้นำในการเล่น รู้สึกว่าตัวเองและคนในวงได้ใช้เวลาในการอยู่พื้นที่ของเสียงร่วมกันนี้ ทำให้มันไปด้วยกันได้แบบเกินคาด เพราะมันเป็นครั้งแรกหลังจากที่จบเทอมก่อนไปแล้วก็ไม่ได้มีโอกาสเล่นดนตรีด้วยกันมาพักนึงแล้ว เลยได้ใช้ช่วงเวลานี้ในการมาจูนเข้าหากันทั้งในเรื่องของการสร้าง group sound และการพัฒนาการฟังร่วมกัน
ในรอบสองของการ improvise นี้คนในกลุ่มอีกคนเป็นคนนำเราทุกคน ความรู้สึกแรกคือรู้สึกแปลกใจกับเสียงที่เราได้ยินเค้าเล่น มันต่างจากที่เราคาดเดาไว้จากมุมมองที่เรามีต่อเขา ด้วยความที่นึกว่าอาจจะเป็นอะไรที่ soft กว่านี้ เลยรู้สึกสนใจและอยากที่จะพัฒนาไอเดียต่อ เล่นต่อจากเขา แต่ก็รู้สึกได้ว่าตอนเล่นตอนนั้นเราติดในการที่เราจะต้องaction เหมือนกันเป็น first violin ที่จะต้อง lead คนส่วนใหญ่ เลยรู้สึกว่าตัวเองชินเกินไป กับรู้สึกว่าควรจะต้องเป็นหาคนอื่นไปต่อมากเกินไป เลยต้องพยายามถอยตัวเองออกเมื่อรู้ตัวได้ถึงตรงนี้ แล้วกลับมาฟังที่คนที่นำอยู่ตอนนั้นให้มากขึ้นกว่าเดิม ก็ดีขึ้น แล้วก็ขยายออกมาฟังคนเล่นคนอื่นๆแล้วลองพัฒนาเสียงต่อจากคนอื่นๆต่อไปอีก ก็สนุกดีแล้วก็ท้าทายที่กับการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น
การทดลองหาเสียงต่างๆที่เราสามารถทำได้จากเครื่องตัวเอง แล้วได้ลองนำมาจัดวางดูใหม่ จากการทำงานนี้ทำให้เราพยายามที่จะหาความเป็นไปได้ในการสร้างเสียงผ่านทักษะการเล่นของฉันเท่าที่มีอยู่มาทดลอง
ในขณะที่อัดเสียงต่างๆเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เห็นความคิดตัวเองที่บางครั้งก็ไม่ได้ใจดีกับตัวเองเท่าไหร่ แต่พอกลับมารู้ตัวได้ว่ากำลังติดอยู่กับเสียงข้างในมากเกินไป เลยได้พยายามกลับมาที่ตรงนั้นตอนที่อัดเสียงแล้วมาอยู่กับเครื่องดนตรีอยู่กับเสียงที่เรากำลังหาอีกครั้ง
Solo
J.S.Bach Sonata No.1, BWV 1001 I.Adagio
บาคเป็นเพลงที่ควรจะเล่นให้มีความคล้ายว่าฟังแล้วเหมือนดูอิมโพรไวส์ ซึ่งจริงๆแล้วบางคนเค้าก็สามารถใส่ความเป็นลูกเล่นบางอย่างไปได้ในเพลงนี้อยู่เหมือนกัน การที่ตัวเรามีความสนใจในการที่จะศึกษาเรื่องของการฟัง เลยไปลองพยายามหาrecordingที่สนใจแล้วลองไปดู ซึ่งแต่ละคนก็เล่นโดยที่ไม่ได้มีการที่ความที่เหมือนกันซะทีเดียวขนาดนั้น พอได้ฟังก็ทำให้เรากลับมาคิดถึงเรื่องของการตีความในแบบของเรา บวกกับสิ่งที่ได้เรียนมาในคาบเรียน เช่นการที่ส่วนใหญ่ท่อนนี้ควรจะเป็นเสียงที่ Legato ซะส่วนใหญ่ กับเรื่องของการให้น้ำหนักของเสียงในแต่ละคอร์ดก็เป็นสิ่งสำคัญ
การที่มีเพลงที่ได้เล่นคนเดียวทำให้เราได้ใช้เวลาในการทบทวนกับ
ตัวเอง ได้ลองอัดเสียงตัวเองเล่นเพื่อลองฟัง เพื่อจะได้รู้ว่าที่เราฟังตอนเล่นกับตอนที่กลับมาฟังอีกทีมันเป็นยังไง แล้วที่คิดไว้ว่าจะทำในดนตรีนั้นมันเวิร์คหรือปล่าว ก็เป็นอีกเทคนิกนึง ที่เป็นสิ่งพื้นฐานเลยในการเล่นดนตรีปัจจุบันในมุมมองของเรา คือการอัดเสียงตัวเองที่เล่นแล้ว
กลับมาฟังอีกครั้งหนึ่ง
เพลงนี้ทำให้เห็นตัวเองว่าเวลาเล่น พอคิดว่าจะทำshapeแบบไหนแล้วในห้องที่กำลังจะเล่นต่อไป บางทีมันก็ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าที่คิด เวลาเล่นแล้วดูเยอะเกินไป ถ้าฟังดู ทำให้เห็นว่าตัวเองเป็นคนตอบสนองค่อนข้างไว แล้วบางทีก็จะคุมไม่ค่อยได้ ถ้าในดนตรีสิ่งที่คิดว่าควรจะทำให้ครั้งถัดไปคือการคิดทุกอย่างให้จบ ให้ได้จนชิน แล้วก็เล่น น่าจะดีขึ้น
String Quartet
Beethoven String Quartet No.14
ได้ทดลองทำอะไรไปบ้าง ใช้แบบฝึกอะไรไปบ้าง อะไรที่เปลี่ยนแปลงภายในวง จากที่สังเกตเห็นจากแรกจนปัจจุบัน
เป็นวงที่ตั้งขึ้นมาใหม่เลย เลยต้องค่อยๆที่จะพยายามรู้จักกันไปเรื่อยๆ ตอนแรกก็ยังมีความเกรงใจในการที่จะพูดคุยหรือแสดงความคิดเห็นในดนตรี แต่ด้วยคนที่ฉันเป็นคนเลือกมาเอง เลยรู้ว่าทุกคนอยากที่จะทำให้วงมันพัฒนา อยากที่จะทำให้มันดีขึ้นไปด้วยกัน
อุปสรรคของเราเลยจริงๆคือเรื่องของเวลาการซ้อมที่ค่อนข้างนัดได้ลำบาก เลยทำให้การทำงานของเราไม่ได้ต่อเนื่องเท่าที่ควร บวกกับไมค่อยได้มีเวลาที่จะสามารถมานั่งฝึกอิมโพรไวส์ด้วยกันจริงๆจังๆเท่าไหร่
ความที่เพลงนี้ ก็ยากมากแล้ว เราเลยพยายามที่จะwork onในเพลงแล้วฝึกฟังผ่านตรงนี้ ได้รู้จักกันผ่านตรงนี้ซะส่วนใหญ่
สิ่งที่เราพยายามจะฝึกไปด้วยกันในช่วงเเรกเลย คือเรื่องของ sound ที่ควรจะกลืนกัน กับเรื่องของ intonation ด้วยความที่ก็ไม่ได้สามารถฟังออกกันมากเท่าไรนัก เราทุกคนเลยต้องช่วยๆกันฟัง และค่อยๆฝึกกันไป เพลงนี้ท่อนแรกเป็นท่อนช้า ยากด้วยเพราะ color ที่มีในท่อนนี้ กับbalance มันเลยทำให้เราได้เรียนรู้ และช่วยกัน เลยได้รู้จักกันมากขึ้นจริงๆเลยทีนี้ เริ่มเข้าใจในการเล่นแบบนี้ของคนในวง หรืออะไรที่เราจะต้องช่วยกันระวัง
และการให้กำลังใจกันและช่วยกันให้ไปข้างหน้าพร้อมกันนั้นสำคัญ
ในท่อนสอง สิ่งสำคัญคือเรื่องของจังหวะและtiming เราต้องรู้ว่าจะต้องเล่นแต่ละที่ไปพร้อมกับพาร์ทไหน การไปฟังเพลงหรือดูสกอร์มาก่อน เป็นสิ่งที่ต้องทำเวลาเล่นกับคนอื่นๆ
ตัวอย่างนี้ก็เป็นช่วงแรกๆที่เราไปเริ่มทำงานด้วยกัน โดยพัฒนาการฟังจากการฝึกซ้อม classical repertoire ด้วยกันซักส่วนใหญ่ ด้วยความที่เป็นเพลงที่มีรายละเอียดที่ต้องมาใช้เวลาร่วมกันอยู่มาก
Duet
Ravel : Sonata No.2 in G Major M.77
จากที่ได้เล่นได้ฝึกซ้อมกับน้องที่เล่นเปียโน (โบอิ้ง) เทอมนี้ฉันแต่น้องลงเรียนวิชา improvisation ด้วยเหมือนกัน เวลามาซ้อมด้วยกันก็จะคุยกันเรื่องอิมโพรไวส์ด้วยเหมือนกัน สิ่งที่ฉันควรจะฝึกคือเรื่องของการหัดเล่นประโยคสั้นๆ แล้วก็หัดที่จะพัฒนาไอเดียสั้นๆนั้นต่อ ส่วนของน้องคือการฝึกเรื่องของ groove กับเราได้คุยถึงวิธีการซ้อมปกติของแต่ละคน น้องบอกว่าบางทีเวลาซ้อมไม่ได้คิดอะไรเลย เล่นอย่างเดียว ก็เลยได้ลองให้น้องได้ฝึกคิดก่อนที่จะเอามือกดลงไปบนเปียโน
หรือว่าอีกแบบฝึกนึงที่ลองด้วยกันก็เป็นการลองที่จะค่อยๆเล่น
แล้วฟังเสียงที่ได้ยินพร้อมกับเสียงในตัวของเราที่กำลังคิดต่อไปจากตรงนั้นอีกที
ตอนซ้อมด้วยกัน ชอบตรงที่ว่าเราสองคนพยายามที่จะแก้ในจุดต่างๆให้ทั้งสองคนสามารถที่จะรู้และฟังกันได้ ได้ยินของพาร์ทอีกคนได้มากขึ้น ช่วยกันฟัง แล้วก็ฝึกฟังไปด้วยกัน
น้องเป็นคนที่แทบจะไม่เคยปฏิเสธคำขออะไรเลย น้องสามารถทำให้เราได้หมดเวลาอยากให้ช่วยหรืออยากซ้อมตรงไหนเพิ่ม เวลาเล่นก็จะเห็นว่าน้องจะเป็นคนที่จดจำสิ่งที่เพิ่งwork onด้วยกันได้ดีเลย
รู้สึกว่าอยากจะให้อยู่ช่วยกันฟัง ให้คำแนะนำกันแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพราะมันทำให้เราเรียนรู้จากการที่น้องเป็นคนพยายาม แล้วทำให้เราอยากพยายามทำให้ดีไปด้วย แล้วเราก็อยากช่วยให้น้องสามารถเพิ่มศักยภาพอย่างเช่น การฟังตัวเองให้มากขึ้น หรือการที่จะคิดต่อยอดในเรื่องเสียงที่ได้ยินต่อไปเรื่อยๆแบบนี้
บางที การที่เล่นร่วมกับคนอื่น เรามักจะชอบไปติดกับการกังวลอยู่กับพาร์ทของตัวเอง พอเป็นบ่อยเข้าก็ยิ่งทำให้เราทำแบบนั้นไปโดยอัตโนมัติ จนไม่ได้ฟังพาร์ทอื่นเท่าที่ควร ฉันเองเป็นแบบนั้นในบางครั้ง แต่ก็พยายามเตือนตัวเองอยู่เรื่อยๆ

กระบวนการเรียนรู้
การพัฒนาการสื่อสารจากการอิมโพรไวส์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้ฉันเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการในการรับรู้ผ่านการสร้างสรรค์เสียงได้ชัดเจนมากขึ้น การใช้ดนตรีเป็นเหมือนภาษาในการสื่อสาร มุมมอง อารมณ์ความรู้สึก ซึ่งคำศัพท์ใหม่ๆหรือวิธีการเล่น สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวันในสถานการณ์ที่เราต้องการจะสื่อสารเรื่องอะไรบางอย่าง
การได้ทำงานในเรื่องของการถ่ายทอดเสียงอย่างลื่นไหล และร่างกาย ความคิดสร้างสรรค์ที่สอดคล้องไปกลับเสียง การรับรู้ ฟัง และสังเกตถึงสถานการณ์นั้นๆที่เรากำลังอยู่ และเดินทางไปบนเสียงที่เกิดขึ้น ณ ตรงนั้น เป็นช่วงเวลาที่เราได้สามารถใคร่ครวญตัวเอง และอยู่กับปัจจุบันได้อย่างดีที่สุดจากการตระหนักถึงการรับรู้ผ่านการฟัง