top of page

Connected Stories#1 Concert

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การแสดงคอนเสิร์ตในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “หนังสือมีเสียง” และได้จัดการแสดงคอนเสิร์ตขึ้น ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK PARK) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ ประยุกต์ใช้องค์-ความรู้ทางด้านดนตรีผสมผสานกับองค์ความรู้แขนงอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของดนตรี อาจไม่จำเป็นที่จะต้องนำเสนอในรูปแบบของการนั่งบรรเลง เพียงอย่างเดียวแต่ยังสามารถเป็นสื่อกลางในการทำงานร่วมกับศาสตร์แขนงอื่นๆได้อีกด้วย โดยภายในคอนเสิร์ตจะมีการนำหนังสือภายในอุทยานการเรียนรู้ มาเล่าผูกเป็น เรื่องราว อาทิเช่น ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส ความรู้ทางด้านเครื่องดนตรี เป็นต้น และเชื่อมโยงกับการบรรเลงบทเพลงต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชน รุ่นใหม่มีความสนใจในการอ่านหนังสือเป็นการเพิ่มพูนความรู้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย.

 

 

 

Sonata for two violins and piano Op. 15,a (1st movement)

works by Darius Milhaud (1892-1974) 

รายชื่อผู้แสดง

กีรติกร พรหมเดเวช   (1st Violin)

ญาณินี พงศ์ภคเธียร  (2nd Violin)

นภัสสร ปุคะละนันท์    (Piano)

           ดาริอุส มิโย (Darius Milhaud 1892-1974) เกิดในครอบครอบชาวยิวในทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส เขาได้รับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีเเห่งหนึ่งในปารีส  ในตอนแรกมิโยเล่นไวโอลิน แต่หลังจากนั้น เขาได้มีความสนใจในด้านการประพันธ์เพลง และได้รับการศึกษาทางด้านประพันธ์เพลงกับ พอล ดูคัส กับ วินเซนต์ ดาวิ และในภายหลังเขาก็ได้ตัดสินใจที่จะมุ่งไปทางการประพันธ์เพลง ผลงานชิ้นแรกๆของเขาได้รับอิทธิพลจาก เดบุซซี่ และหนึ่งในนั้นคือบทเพลงนี้ เพลงนี้ได้รับรางวัลจากโรงเรียนดนตรีที่เขาศึกษาอยู่คือParis Conservatory ถูกแต่งขึ้นมาเนื่องจากเริ่มมีความสนใจทางด้านการประพันธ์ดนตรี จากที่เป็นแค่นักเรียนดนตรีเล่นไวโอลิน 

           บทเพลงโซนาต้า ฟอร์ ทู ไวโอลิน แอนด์ เปียโน โอปุซ 15 (Sonata for two violins and piano Op. 15) มีทั้งหมด 3 ท่อน (Movement)  ในแต่ละท่อนมีลักษณะที่ต่างกัน และจุดเด่นของเพลงนี้คือ มีทำนองที่น่าสนใจ และได้รับอิทธิพลมาจากทางเอเชีย ทำนองมักเกิดขึ้นในทุกเครื่องพร้อมกัน แต่เป็นคนละจังหวะ

           ผลงานชิ้นนี้ของมิโย เป็นผลงานชิ้นต้นๆของเขาในชนิดเพลงเชมเบอร์มิวสิค จุดเด่นของบทเพลงนี้คือ มีแนวทำนองที่น่าสนใจ มีความสงบนิ่งแต่ก็มีท่อนที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง และอีกหนึ่งเหตุผลที่บทเพลงนี้มีการเล่นไปในแนวเดียวกันหรือไม่ก็เป็นคู่ 5 ซึ่งจะทำให้สำเนียงจะมีความเป็นเอเชียมากขึ้น และในแต่ละช่วงของเพลง มักมีอารมณ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น จากเสียงดัง ทุกอย่างตีกันไปหมด ทุกเครื่องเหมือนเล่นสู้กัน กลายเป็นเบาแล้วสงบไปในที่สุด ทำให้เพลงนี้มีความน่าสนใจ น่าติดตามมากขึ้น เพราะคนดูเองก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าตรงไหนจะเกิดอะไรขึ้น บางท่อนก็ทำให้รู้สึกอบอุ่น บทเพลงนี้มีความคล้ายคลึงกับ บทเพลงโซนาต้าสำหรับ ฟลูท วิโอล่า ฮาร์ป ของ เดอบุซซี่ ในปี ค.ศ.1915 ถ้ายกตัวอย่างบทเพลงที่มีชื่อเสียงของผู้ประพันธ์ เช่น La création du monde เพลงนี้เขาได้รับอิทธิพลจาก American Jazz Band ในลอนดอน และเมื่อ              เขากลับสู่ฝรั่งเศส เขาได้เพิ่มสีสัน จังหวะ ทำนองของความเป็นแจ๊ส ลงในบทเพลงที่เขาแต่งเหมือนกับเพลงนี้  ที่เขาได้นำความเป็นเอเชียเข้ามาใส่เขาเคยเป็นสมาชิกในกลุ่มนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ‘เล ซิส’ (Les Six)

กลุ่มคนที่มีความคิดแปลกใหม่ในการพัฒนาการประพันธ์ผลงานดนตรี สร้างความเป็นศิลปะใหม่ๆ ผู้ประพันธ์ที่จะอยู่ในช่วงนั้นๆหรือคาบเกี่ยวกันและก็มีความสนใจในการพัฒนาการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วย เช่น Francis Poulenc, Erik Satie, Olivier Messiaen, Paul Hindemith, Claude Debussy เป็นต้น

         เขาเป็นคนที่มีความคิดที่รวดเร็วในการสร้างสรรค์ผลงาน ในปีค.ศ.1940 เขาได้เริ่มสอนใน Mills College ที่ โอคแลนด์ แคลิฟอร์เนีย หลังจากปีค.ศ.1947 เขาก็ไปสอนที่Paris Conservatory ปีหลังจากนั้นเขาก็ป่วยเป็นโรคไขข้ออักเสบ แต่เขาก็ยังคงทำงานประพันธ์เพลงต่อไป 

           สิ่งที่ท้าทายในการเล่นเพลงนี้คือ อารมณ์ สีสันของเพลง เพราะในแต่ละท่อนนั้น มีอารมณ์ที่หลากหลายและแตกต่างกันมาก ซึ่งถ้าเราเล่นแล้วสีสันไม่ต่างกันจะทำให้บทเพลงดูน่าเบื่อ ผู้เล่นในวง ต้องคิดไปในทิศทางเดียวกันก่อน ตีความไปในทางเดียวกัน ผู้ชมจึงจะสามารถเข้าใจในบทเพลงของเราได้ เราสามารถตีความเป็นภาพ หรือสถานที่ต่างๆออกมาได้ เพื่อความง่ายต่อการเข้าใจ เมื่อเราจะสื่อให้ผู้อื่นฟัง ทำให้เห็นภาพได้ง่ายอีกด้วย

หนังสือ The Silk Road ตะลุยเส้นทางสายไหม กับบทเพลงนี้มีความคล้ายกันตรงที่มีการได้รับและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกัน บทเพลงที่เล่นนั้นมีสำเนียงที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันออก 

           หนังสือ The Silk Road เล่มนี้ ได้กล่าวถึง "เส้นทางสายไหม" เส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างเอเชียกับยุโรป แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งแต่ละทวีปก็ได้นำสิ่งดีๆ มาเเลกเปลี่ยนกัน เช่น วัฒนธรรม เป็นต้น เพลงที่นำมาบรรเลงนี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน

เส้นทางสายไหม

Inspired by

18320629_914318788709440_466158607090370
18489607_917599208381398_602864613097025
18423180_917599215048064_148690623243756
bottom of page